วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2559

design thinking for life phase I

มีใครสงสัยมั้ย ว่า ... ชีวิตออกแบบได้จริงหรอวะ ? ไม่เห็นรู้สึกแบบนั้นเลย...

ชีวิตเรา หลายครั้ง ที่ไม่ได้เป็นอย่างที่อยากให้เป็นตั้งแต่เเรกหรอก ... แต่มันจะดีกว่านั้น !!!

เราว่าชีวิตมันออกแบบได้นะ แต่มันไม่ใช่การออกแบบ! มันคือการทำ prototype (แบบจำลอง) ของการออกแบบนั้นต่างหาก !!!

เคยเข้า workshop เรื่อง design thinking ... โดยสรุป .... การที่เราจะออกแบบสินค้า บริการ ระบบ หรืออะไรก็ตาม ควรจะเริ่มต้นตั้งโจทย์จากความต้องการของมนุษย์จริงๆ เรียกว่าเป็น human-centered design  ซึ่งวิธีคิดนี้ใช้ได้ดีกับทั้งการออกแบบเพื่อการค้าและเพื่อสังคม ใช้ที่ IDEO.org แล้วก็สอนที่ d.school ของ stanford

ถ้า design thinking ใช้ในการออกแบบนวัตกรรม  แล้วถ้าเราอยากให้ชีวิตเราเป็นนวัตกรรมล่ะ ? ถ้าเราอยากสร้างชีวิตให้มันเป็นอะไรที่มากกว่าการใช้ชีวิตอยู่ล่ะ ? ( ปล . คนที่ไม่อยากทำก็ไม่ใช่คนที่ไม่เจ๋งนะ คนเรามีนิยามความสนุกและคุณค่าในชีวิตไม่เหมือนกัน ) 

เราเคยฟัง Ashton Kutsher พูดในงาน teen choice award  มีประโยคที่เราชอบมากซึ่งนางได้มาจาก Steve Jobs คือ " build the life , don't live one, build one" >> ตามไปฟังที่  https://www.youtube.com/watch?v=FNXwKGZHmDc  

ถึงตอนนี้ หลายคนคงเกิดคำถามว่า ก็เจ๋งดีนะ เห็นด้วย แต่จะเริ่มยังไง ? สำหรับคนอื่นเราไม่รู้ แต่สำหรับเราใช้วิธีคิดของ design thinking ซึ่งมีขึ้นตอนตั้งแต่เริ่ม (ตามที่เราเข้าใจ) ดังนี้  !! 


ภาพประกอบจาก dschool.stanford.edu

1. Empathize : มันคือการเข้าอกเข้าใจ เราเข้าใจตัวเองมากแค่ไหน เราเป็นตัวของตัวเองแค่ไหน เรากล้ายอมรับตัวเองแค่ไหน? เราซื่อสัตย์กับตัวเองหรือเปล่า ? 
2. Define : การกำหนดปัญหา ว่าเราอยากได้อะไร ชีวิตเรา มีปัญหาที่ต้องแก้ หรือมี goal ที่ต้องไปให้ถึงหรือเปล่า มันคืออะไร? การ define นี้จะมีภาพลวงตาอยู่นิดหน่อย จะยกตัวอย่างที่เคยได้เรียน มันเป็นเรื่อง"สะพาน" 
ภาพจากหนังเรื่อง x-men  ใน www.mtv.com
คำถามคือ จง define ปัญหาของภาพนี้ ... หลายคนอาจจะตอบว่า อ้าววว ก็เห็นๆอยู่ว่ามันคือสะพานพังไง ดังนั้น ทางออกของการแก้ปัญหานี้ คือการซ่อมสะพาน จบ .... 
แต่ !เดี๋ยว !  จริงๆแล้ว ถ้าลองย้อนกลับไปที่รากของปัญหาอีกทีซิ ย้อนไปตั้งแต่ก่อนสร้างสะพานนี้เลย จะเจอว่า ปัญหาที่แท้จริงของสะพานพัง ไม่ใช่สะพานพัง แต่มันคือ การที่เราจะข้ามไปอีกฝั่งได้อย่างไรต่างหาก ! ดังนั้นถ้าเรา define ปัญหาที่แท้จริงของโจทย์นี้น่าจะเป็น  "เราจะข้ามไปอีกฝั่งได้อย่างไร" มากกว่า 

ชีวิตก็เหมือนกัน ปัญหาที่เราเจอตอนนี้คืออะไร ? ปัญหาคือเราเงินน้อยหรอ ?  เราไม่มีเวลา? เราไม่มีผัว ? หรือจริงๆปัญหาคือ เราไม่มีความสุขกับชีวิต ? เราอยากทำอะไร อยากได้อะไร  ลองคิดดูของใครของมัน ไม่มีถูก ไม่มีผิด อันนี้แล้วแต่คน ว่าในชีวิตต้องการอะไร  แค่หาให้เจอ หาแก่นปัญหาให้เจอ define ปัญหาให้ออก ด้วยการ empathize ตัวเองให้มากๆ 

3.Ideate : คือการคิดหาวิธีการแก้ปัญหา จากตัวอย่างข้างบน เมื่อเรา define ได้แล้ว ทางออกมันอาจจะกลายเป็น เราต้องหาเงินให้ได้มากๆ เราต้องทำงานฟรีแลนซ์เพื่อให้มีเวลาในชีวิตมากขึ้น หรือเราต้องหาผัว ... ในท้ายที่สุด ได้ 3 อย่างนี้มาแล้ว เราอาจจะพบว่าชีวิตยังไม่มีความสุข ก็ต้องกลับมา define ปัญหากันใหม่

กลับไปที่ตัวอย่างสะพาน... วิธีการแก้ปัญหาสะพานพัง อาจจะไม่ใช่การซ่อมสะพาน แต่อาจจะเป็นการ สร้างทางลอดใต้น้ำ การสร้างกระเช้า การสร้างเครื่องวาร์ป การสนชาวเมืองให้ว่ายน้ำข้ามไป หรืออื่นๆก็ที่อาจจะเป็นทางที่ดีกว่าการสร้างสะพานขึ้นมาใหม่ >> นี่แหละคือนวัตกรรม

ซึ่งการคิดนวัตกรรมนี้ อาศัยประสบการณ์ ความรู้ หลายๆด้าน หลายๆแขนง ถ้าเป็นในชีวิตจริง ก็เป็นไอเดียจากเราเอง จากเพื่อนหรือจากคนอื่น 

4. Prototype and test !!!!!พอรู้แล้วว่าตัวเองต้องการอะไร ก็เริ่มคิดได้เลย ว่าจะไปสู่สิ่งนั้นได้ยังไง เรานี่ list ออกมาเลยนะ เลือกเป็นช้อยส์ๆเลย เรียงจากอันที่เหมาะสมกับเราที่สุด สร้างแผน แล้วลงมือทำเลยจ้าาาา อย่าไปรอให้พร้อม เราค้นพบแล้วว่าไม่มีคำว่าพร้อมในการเริ่มอะไรครั้งแรก สิ่งเดียวที่ต้องพร้อมคือ พร้อมที่จะเรียนรู้ พร้อมที่จะอกหักหรือเสียหน้า
   
โปรโตไทป์คือการสร้างแบบจำลองและนำมันออกไปทดสอบใช้จริง การเดินไปสู่สิ่งที่ตั้งเป้าไว้ มันคือการทำโปรโตไทป์และการทดลองโปรโตไทป์ของชีวิต เธอจะไม่มีวันรู้เลยว่า แผนที่วางไว้ มันจะเป็นไปตามที่คิดหรือเปล่า ซึ่งเท่าที่เราลองทำมา ไม่ได้เป็นไปตามนั้นทั้งหมด แต่กลับดีขึ้นต่างหาก  ยกตัวอย่าง การ test โปรโตไทป์ชีวิตของเรา 

 define : เราอยากมีชีวิตที่มีคุณค่า สนุก มีเรื่องเล่ามากมาย สร้างสังคมให้ดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องไหนก็ตาม 

เราสร้างโปรโตไทป์ปี 2014 ของเราออกมาคือ
เข้าทำงาน NGO ที่เกี่ยวข้องกับหลากหลาย issue ทางสังคม  >> เรียนต่อที่ยุโรป >> ทำงาน UN >> ทำงานพัฒนามนุษย์ ที่ไหนก็ได้ในโลก

เราเริ่ม test จากการสมัครทำงานที่ Ashoka ซึ่งเป็น NGO ที่เราหาข้อมูลมาว่าทำงานสนับสนุนคนที่ทำงานเปลี่ยนแปลงสังคมในทุกด้าน 
ผลจากการ test คือ 
  • เราไม่สามารถเข้ากับทีม ashoka ได้ 
  • เราได้เรียนรู้เรื่องทางสังคม ได้รู้จักคำว่า "กิจการเพื่อสังคม" หรือ Social Enterprise (SE)และได้รู้จักคนที่หลากหลาย  
  • เรียนรู้การทำงานเป็นเป็นโครงการ 
  • พบว่าตัวเองอยากทำงานที่เกี่ยวกับนวัตกรรมสังคม หรือ กิจการเพื่อสังคม (SE)
  • พบว่าตัวเองอยากทำงานที่เจอคนเจ๋งๆเยอะๆ และคอยสนับสนุนเค้า  
เห็นมั้ย แค่ขั้นแรกก็ไม่ผ่านละ ต้องเอาผลที่ได้จากการ test มาทบทวนตัวเองใหม่ แนะนำให้เริ่มจาก Define ใหม่ ทุกครั้ง 
1. ทบทวนการ Define ปัญหา ... เรายังมีเป้าหมายชีวิตเหมือนเดิมมั้ย >> พบว่ามีเหมือนเดิม โอเค ผ่าน ( บางคนอาจจะเปลี่ยนนะ เช่น พบว่า คุณค่าในชีวิตของชั้น ไม่ใช่การทำให้สังคมดีขึ้น แต่มันคือการได้ท่องเที่ยวรอบโลก เป็นต้น แล้วแต่คน  )
2. Ideation ใหม่เพื่อปรับ protoype เพราะตอนนี้เรามีข้อมูลชุดใหม่เพิ่มขึ้นมาแล้ว มีประสบการณ์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมาแล้ว ดังนั้น prototype ใหม่ของเราคือ 

เราจึงได้ prototype ปี 2015 เป็นดังนี้ 
เข้าทำงานกับกิจการเพื่อสังคมในตำแหน่งที่ได้เจอคนเยอะๆ  >> เรียนต่อที่ยุโรป >> ทำงาน UN >> ทำงานพัฒนามนุษย์ ที่ไหนก็ได้ในโลก


เราเริ่ม test โปรโตไทป์ใหม่นี้ด้วยการ เข้าทำงานที่ มาดี ซึ่งเป็นกิจการที่สร้างพื้นที่ให้คนที่อยากสร้างความเปลี่ยนแปลงให้สังคมเข้ามารวมตัวกันเพื่อลงมือทำ เราทำงานในตำแหน่ง project coordinator และ project manager
สิ่งที่ได้จากการ test โปรโตไทป์ที่มาดีคือ
  • เราไม่แคร์ว่าสิ่งที่จะทำต้องเป็นกิจการเพื่อสังคมหรือไม่ แต่ต้องเป็นสิ่งที่สร้างความเปลี่ยนแปลงได้อย่างยั่งยืน
  • เราพบว่าเราไม่สามารถเเก้ไขปัญหาสัวคมทุกอย่างบนโลกได้ เเต่เราพบว่ามี 2 อย่างที่อยากทำมากจริงๆคือ 1. อยากทำนวัตกรรมสังคมเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของตัวเอง 2.เราอินเรื่องคอร์รัปชั่นมาก เพราะได้รับผิดชอบโครงการที่เกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชั่น 
  • ได้เรียนรู้เรื่องการกล้าลงมือทำ การเปิดพื้นที่ให้คนได้มามีส่วนร่วม
  • ได้เจอกับอาจารย์จาก ม.สุรนารี และมุมมองที่กว่างขึ้นในคำจำกัดความของคำว่า "ผู้ประกอบการ" หรือ entrepreneurship
  • ได้เรียนรู้การทำงานที่เป็นมืออาชีพมากขึ้น พัฒนาความเป็นผู้นำ และมุมมองการทำธุรกิจ 
  • พัฒนามุมมองที่มีต่อโลกใบนี้ (เป็นการเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดในชีวิต)

ทำไปสักพัก เราพบว่า โอเค มาแนวนี้ถูกต้อง โปรโตไทป์นี้ถูกต้องและได้ข้อมูลมาเพิ่มเติมอีกเยอะแยะเลย  ดังนั้น เมื่อถึงจุดๆนึง ก็ต้อง move ชีวิตต่อไป 
เราลาออกจากมาดี   จะเห็นว่า เราเดินมาถึง milestone ที่ 2 แล้ว นั่นคือ การวางแผนเรียนต่อ 

และนี่คือ โปรโตไทป์ปี 2016 ของเรา
ทำงานมาดี >> เรียนต่อที่ยุโรป >> ทำงาน UN >> ทำงานพัฒนามนุษย์ ที่ไหนก็ได้ในโลก
ชาว social enterprise ที่มาดี 
การลาออกจากมาดีทั้งๆที่เป็นที่ที่เรามีความสุขมากนั้น ไม่ใช่ทำสุ่มสี่สุ่มห้านะ เราสะสมจากการ test ที่ผ่านๆมา และได้ข้อมูลในการตัดสินใจเรียนต่อเพิ่มขึ้นเยอะมาก เราพบว่า เราอยากเรียนด้าน Entrepreneurship ดังนั้น ลาออกจากมาดีเพื่อมาลองทำกิจการเพื่อสังคมเป็นของตัวเอง จะได้เรียนรู้เรื่องนี้ในมุมที่กว้างขึ้น หาประสบการณ์เพิ่ม เพื่อเป็นวัตถุดิบในการเรียนต่อและใช้ชีวิต รวมทั้งในการตัดสินใจต่อไป 
แก๊ง SUT start up และแก๊งที่ที่ทำงานเรื่อง entrepreneurship กับเครือข่ายทั่วประเทศ 

ตอนนี้เราอายุ 25 โปรโตไทป์ชีวิตของเรา test  ไปยังไม่ถึงครึ่งด้วยซ้ำ และมันก็เปลี่ยนแปลงไปทุกปี หรือทุกครั้งที่เห็นว่าเหมาะสม  

แต่สิ่งที่เราชัดเจนไม่เปลี่ยนง่ายๆคือเรา define ปัญหาของตัวเองชัดมากและไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยมา 25 ปีแล้ว ห้าๆๆๆ
ถ้าเรา define ปัญหาไม่ชัด จะทำให้ทุกอย่างมั่ว เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาบ่อย แล้วคุณจะสับสนกับชีวิตมากกว่าที่เป็นอยู่อีกข่าาา ดังนั้น  จงทำความรู้จักตัวเองให้ดี ให้ละเอียด ไม่ต้องเเคร์ใครมาก empathize ตัวเองอย่างใกล้ชิดและซื่อสัตย์

ที่สำคัญ ถ้าอยากใช้วิธี design thinking ให้สำเร็จ ต้องมีทัศนคติในการพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง ไม่กลัวความผิดพลาด กล้า test กล้า ปรับชีวิตให้เข้าใกล้จุดที่ตัวเองต้องการมากที่สุดโดยไม่สนใจว่าเส้นทางเก่าๆ ของคนอื่นมันจะเป็นยังไง (คือสนใจได้ในเชิงเอามาเรียนรู้หรือปรับใช้ ไม่ใช่ไป copy มาง่ายๆ) 

สิ่งสำคัญอีกอย่างนึงที่เอามาใช้ประกอบกับ design thinking คือสิ่งที่เราได้มาจากการทำ workshop เรื่อง UX (user experience) จะเห็นว่าเรายึดเรื่องประสบการณ์ในการตัดสินใจปรับอะไรๆเยอะมากและบ่อยมากและบางทีรวดเร็วมาก  เราไม่สามารถออกแบบชีวิตเราให้มันเสร็จสมบูรณ์ดีงามไปเสียทุกอย่างในครั้งเดียว เราเองจะไม่คาดหวังว่าวันสุดท้ายของชีวิตเราจะเห็นอะไรที่เป็นสูตรสำเร็จเลย นอกจากจะเป็นไปไม่ได้แล้ว ยังเหนื่อยและไม่สนุกอีกด้วย เพราะปัจจัยนึงที่สำคัญในการใช้ชีวิตของชีวิตมนุษย์คือ "เวลาและประสบการณ์"  เวลาผ่านไป เราเปลี่ยนไป สิ่งรอบข้างเปลี่ยนไป สิ่งที่เราออกแแบบไว้วันนี้ มันจะล้าหลังในวันพรุ่งนี้  ดังนั้ง เสน่ห์ของการสร้างอะไรบางอย่าง คือการออกแบบให้มันพัฒนาไปได้อย่างไม่มีจุดสิ้นสุด เราจะได้ผลลัพธ์ที่ cool กว่าเป็นไหนๆ  

เราใช้วิธีคิดนี้กับเรื่องความรักด้วยนะเออ กับเรื่องอะไรที่เราคิดว่าออกแบบได้ เราก็ลองใช้หมด 

เราออกแบบชีวิตของตัวเองได้จริงๆนะ ไม่เชื่อ มา"ลองดู"เป็นเพื่อนกันหน่อย! :)  



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น