วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

The Founder : The Art of Management and The Power of Control (Spoiler alert - มีสปอยล์ค่ะ)




The Founder :  The Art of Management and The Power of Control

การต่อสู้ผ่านร้อนผ่านหนาวของพี่น้อง Richard (Dick) และ Maurice (Mac) McDonaldสะท้อนให้เห็นว่าทั้งสองคนเป็น Salary-Replacement Entrepreneur เติบโตจากเด็กยากจน สู่การเป็นมนุษย์เงินเดือนและไล่ตามฝันที่จะมีกิจการเป็นของตัวเอง ด้วยพรสวรรค์ และประสบการณ์ เป็นจุดกำเนิดของร้านแมคโดนัลด์ที่เปลี่ยนวิธีกินอาหารของคนอเมริกันไปตลอดกาล
Ray Kroc นักขายผู้ทะเยอทะยาน มุ่งมั่น ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้สิ่งที่อยากได้ ทุกโอกาสในการเติบโตและการไปถึงจุดสูงที่สุดกว่าทุกคนคือสิ่งที่เค้าคิดถึงอยู่ตลอดเวลา อย่างที่ในหนังได้อ้างอิงคำพูดของ  Ralph Waldo Emerson ว่า “A man is what he thinks about all day long”
แต่ความเป็น ผู้บุกเบิกหรือนักขาย อย่างเดียว อาจไม่พอในการสร้างจักรวรรดิอาหารจานด่วนอย่างแมคโดนัลด์ได้ การผ่านอุปสรรคและความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในชีวิตของทั้ง 3 คน ทำให้เราได้เรียนรู้ว่า ส่วนประกอบสำคัญที่นำแมคโดนัลด์  แฟรนไชส์อาหารและบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ 1. การจัดการที่มีประสิทธิภาพ  และ 2. การสร้างอำนาจในการควบคุม
1.       การจัดการที่มีประสิทธิภาพ : The Art of  Management
1.1   Timing and Behaviors : การขยายกิจการของบริษัทในโลก สาเหตุที่ทำให้ล้มเหลวมากที่สุดคือ Timing ซึ่งมีผลต่อเนื่องถึงพฤติกรรมลูกค้า แมคโดนัลด์สาขาแรกเริ่มจากการทำ Drive Through ซึ่งเป็นรูปแบบที่กำลังแพร่หลายในอเมริกา เมื่อ Ray มาเยี่ยมร้านและพบว่าพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปแล้ว แม่บ้านพาลูกมาทานอาหารนอกบ้านมากขึ้นและเป็นโอกาสสำคัญที่จะลงมือทำอะไรบางอย่าง (หากทำก่อนหน้านี้ อาจล้มเหลวเหมือนกับที่ Dick และ Mac สูญเสียธุรกิจโรงหนังไป)
1.2   Brand Building : ทรัพยาการที่สำคัญที่สุดของการทำ Franchising
·         การวางทิศทาง Brand ให้ชัดเจน : แมคโดนัลด์วางตัวเป็นพื้นที่สำหรับครอบครัว เป็น “ The New Church of America” เช่น เสิร์ฟอาหารที่ช่วยทำห้คนจดจำได้ง่าย กำจัดทุกอย่างที่ family Unfriendly ออกหมด เป็นต้น
·         Distinctiveness :  Trademark ทั้งชื่อ สี รูปแบบอาคาร โลโก้  ที่ล้วนสร้างความเป็นแมคโดนัลด์ที่ใครก็เลียนแบบไม่ได้และสร้างมูลค่ามหาศาลตามมา แม้ Mac จะพาใครต่อใครเดิมชมครัว เปิดขั้นตอนทุกอย่างให้ดู ก็โขมยIntellectual Property นี้ไปไม่ได้  (ที่พี่น้อง Mac และ Dick ไม่รู้เลยว่ามันคือ Intellectual Property ที่สำคัญ)
1.3   Scaling Process
·         Scalable Process : ตั้งใจหรือไม่ แต่พี่น้อง Dick และ Mac ได้สร้าง “Speedee” ระบบการทำงานแบบใหม่ที่ Repeatable เพื่อให้การทำงานไปในทิศทางเดียวกัน และเพิ่มประสิทธิภาพ-ประสิทธิผลการผลิต  
·         Franchisee Collection : การเลือกผู้ทำ Franchise ไม่ใช่ใครก็ได้ แต่ต้องเลือกคนที่จะสามารถพาร้านอาหารให้ไปในทิศทางเดียวกับร้านแม่ได้ Ray เริ่มต้นจากการหา Franchisee ด้วย Connection ส่วนตัว (เหมือนกับ Startup ทั่วไปที่เริ่มจาคนใกล้ตัวก่อน) แต่ก็ล้มเหลวและเปลี่ยนวิธีหา Franchisee โดยการคัดเลือกคนที่อยากทำและจะสามารถทุ่มเวลาทั้งหมดให้มันได้เท่านั้น
·         Quality Control : เมื่อมีหลายร้านมากขึ้น การควบคุมงานก็ยากขึ้น เจ้าของ Franchise ต้องระบบบางอย่างเพื่อควบคุม Franchisee ให้ได้ โดย Ray เริ่มด้วยการลงเยี่ยมร้าน ช่วย Training สอน How to และในที่สุด ใช้วิธีทางกฏหมายคือเป็นเจ้าของที่ดิน
1.4    Working Together
·         ม้ว่าภาพฝันปลายทางอาจจะเหมือนกัน แต่วิธีการและระดับความเสี่ยงที่แต่ละคนรับได้ไม่เท่ากัน Ray ต้องการโตอย่างรวดเร็ว แต่ Mac กับ Dick กลัวความเสี่ยงมาก ดังนั้นหากมีการเจรจาหรือตั้ง KPI ร่วมกันจะช่วยบรรเทาความขัดแย้งได้
·         การสร้างความเชื่อใจและการสื่อสารอย่างโปร่งใส่ระหว่างกัน (อย่ากระแทกหูโทรศัพท์ใส่กัน !) ความสัมพันธ์ระหว่างกันอาจจะสำคัญกว่าสัญญาบนกระดาษก็เป็นได้   
·         ควรรับฟังและหาทางออกร่วมกัน Mac และ Dick คิดว่ามีสัญญาในมือและ ไม่มีพื้นที่ในการทำงานให้ Ray มากนักจนเกิดความขัดแย้งในหลายกรณี เช่น กรณี Insta-mix เป็นต้น
1.5   Helpful Partner / Talent Management : ในการขยายกจการก็ต้องใช้ทีมงานที่ดี Ray เก็บลูกน้องที่คิดว่ามี Potential ไว้ใกล้ตัวและปั้นเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพในการขยายการทำงาน
1.6   If you don’t grow, you’re DEAD :  กิจการ ถ้าไม่โต ไม่นานก็จะมีคนเข้ามาแข่ง และไม่นานก็จะตาย หรือแย่กว่านั้นคือเป็น Zombie ที่ไม่สามารถไปไหนได้ เหมือน Mac และ Dick เจอและคิดได้ช่วงอยู่โรงพยาบาล Mac ได้พูดออกมาว่า “We’ll never beat him”  

2         การสร้างอำนาจในการควบคุม : The Power of Control
2.1   Empathy First : การขยายกิจการแบบ Franchise คือการทำงานร่วมกันของคนหลายส่วนที่ต้องไปในทิศทางเดียวกัน (เช่นเดียวกับธุรกิจแบบอื่นๆ) หากมีคนถูกเอาเปรียบหรือไม่สามารถโตไปพร้อมกับองคาพยพหลักได้ ไม่สามารถยืดหยุ่นได้ ก็ไม่อาจสร้างความยั่งยืนในการดำเนินงานได้ การใช้กฏหมายจึงเป็นเพียงเครื่องมือในการสร้างกรอบการทำงานร่วมกันเพื่อให้ สิทธิ-หน้าที่ ในการทำงานร่วมกันชัดเจนขึ้นเท่านั้น  
2.2   Contract : อย่างที่ Ray ได้กล่าวว่า “Contracts are like hearts. They’re made to be broken.” ในการดำเนินงานจริงในระยะยาว สัญญาจะไม่สามารถบอกวาอะไรทำได้หรือไม่ได้อย่างชัดเจนอีกต่อไปเนื่องจากสถาการณ์และสถานะของธุรกิจที่เปลี่ยนไป การเซ็นสัญญาของ Ray ในตอนแรกเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่มีทนาย ไม่ได้ประเมินอย่างละเอียดก่อน ทำให้มองข้ามเรื่องรายได้ไปจนเป็นผลต่อเนื่องถึงอนาคต โดยในสัญญาระบุว่า Ray ได้ผลตอบแทน 1.9% และต้องแบ่งให้ Mac และ Dick 0.5% เหลือเพียง 1.4% ซึ่งกระทบ Cash flow และความสามารถในการขยายกิจการของ Ray และการต่อรองเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งก็ยากเพราะ Mac และ Dick ไม่อนุญาตและไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในสัญญา โดยไม่สนใจความลำบากของ Ray
2.3   Assets  Breakdown : หลังจากที่ได้ Harry j. Sonneborn มาดูเรื่องการเงินและพบว่าปัญหาที่ Ray กำลังเจอ คือ  1. มีกระแสรายได้ที่น้อยมาก (1.4% จากยอดขาย) ทำให้ 2. ไม่มีเงินสดสำรอง 3.การทำสัญญาระยะยาวที่ผูกมัดและเป็นอุปสรรคในการขยับขยาย จึงได้เสนอทางออกให้ Breakdown กระบวนการทำงานและสินทรัพย์จนพบว่า ที่ดิน คือสินทรัพย์ที่สำคัญที่จะสร้างทั้งรายได้และอำนาจในการควบคุมกิจการ และลดทอนความเป็นเจ้าของของ Mac และ Dick ลงอย่างมาก โครงสร้างและวิธีการทำงานของ Ray ก็เปลี่ยนไป เกิดเป็น Franchise Realty Corporation ควบคุมอำนาจผ่านการจัดการอสังหาริมทรัพย์ ทำให้แมคโดนัลด์ กลายเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาและบีบให้ Mac และ Dick ต้องขายความเป็นเจ้าของในที่สุด โดยได้รับเงินเพียงคนละ 1.35 ล้านดอลล่าเท่านั้น
2.4   Hand Shake Contract : Mac และ Dick เจราจาขอค่า Royalty 1% จาก Ray แต่จากการเจรจาการทำข้อตกลงจบด้วยวิธีการจับมือแทนการเซ็นสัญญา ทำให้สองพี่น้องไม่เคยได้ค่า Royalty เลยจนถึงปัจจุบัน  เพราะไม่สามารถพิสูจน์ต่อศาลได้ว่าเกิด สัญญาขึ้นจริงๆ
2.5   Intellectual Property control : สินทรัพย์ที่พอจะสร้างความได้เปรียบในการต่อรองให้ Mac และ Dick ได้คือ IP ทั้งหลาย เช่น Trademark, Process ต่างๆ แต่ก็ไม่ได้ทำการปกป้องไว้ในรูปแบบใดเลย ทั้งการจดและTrade secretรวมทั้งในสัญญาเดิมก็ไม่ได้มีระบุขอบเขตอำนาจใดๆนอกเหนือจากกิจกรรมในร้าน ทำให้เป็นช่องว่างให้ Ray สามารถ Claim ทุกอย่างมาเป็นของตัวเองได้ในท้ายที่สุด
สุดท้ายของภาพยนตร์ Spirit in The Skyถูกเลือกเป็นเพลงประกอบ และสื่อ(แบบกัดจิก) เป็นอย่างดีของคนแบบ Ray Kroc ผู้ที่มองเห็นภาพตัวเอ “When I die and they lay me to rest,gonna go to the place that’s the best” ซึ่งในท้ายที่สุด Ray ได้ทุกอย่างไปครอบครอง ทั้งอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ (รวมทั้งภรรยาของ Partner) และสร้างจักรวรรดิ์ที่เสิร์ฟอาหารให้คน 1% ของโลก ด้วยสิ่งที่เขาเชื่อเสมอมาและเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดในตัวมนุษย์ผู้นี้ คือ “Persistence” ความมุ่งมั่นแบบกัดไม่ปล่อยนั่นเอง

“ Persistence , Nothing in the world can take the place of persistence
Talent won’t ; nothing is more common than unsuccessful men with talent
Genius won’t ; unrewarded genius is practically a cliché  
Education won’t ; the world is full of educated fools

Persistence and determination alone are all powerful”
The Founder, 2016

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น