ความยั่งยืนของห่วงโซ่อุปทาน : ความสำคัญและแนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานยั่งยืนในธุรกิจอาหาร
สำหรับผู้ประกอบการใหม่ การเปลี่ยนแปลงและปัญหา นำมาซึ่ง “โอกาส”
โลก เปลี่ยนผ่านจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 และ 2 ก่อนจะเข้าสู่เข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสากรรมครั้งที่
3 ที่ใช้เครื่องมือเทคโนโลยีและข้อมูลขั้นสูงขึ้นที่ทำให้ประสิทธิภาพประสิทธิผลการผลิตยิ่งก้าวหน้ากว่าที่ผ่านมา
แต่การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ มาพร้อมกับต้นทุนมหาศาล นั่นคือการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง
ก่อให้เกิดปัญหา
เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ วิกฤติการณ์ความยั่งยืนด้านอาหาร
การใช้แรงงานในการผลิตอย่างไม่เป็นธรรม เป็นต้น มากไปกว่านั้น
หากโลกกำลังจะต้องรองรับประชากรกว่า 9 พันล้านคนในปี 2050
แล้ว การฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4
ควรเป็นการปฏิวัติเพื่อให้นำไปสู่การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนใช่หรือไม่ ?
การจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของบริษัทไม่ว่าจะเกิดใหม่หรือบริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลก
มีแนวโน้มพัฒนาบนพื้นฐานของการสร้าง “ความยั่งยืน” เป็นหลัก ซึ่งคือการพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน
โดยไม่ริดรอนความสามารถในการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นหลังนั่นเอง
ทำไมผู้ประกอบการด้านอาหารใหม่ๆ
ต้องคำนึงถึงการจัดการห่วงโซ่อุปทานยั่งยืน ?
Supply Chain อาหาร เป็นหนึ่งในห่วงโซ่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ผู้บริโภคทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงผลลัพธ์ของกิจกรรมในห่วงโซ่อุปทานที่ส่งผลเสียต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม การพัฒนา New venture หรือการพัฒนา Business Models ใหม่ๆนั้นจึงต้องอิงตามการเปลี่ยนแปลงด้าน Life style ของผู้บริโภคข้อนี้ด้วย จาก the
Regeneration Consumer Study พบว่าผู้บริโภคพร้อมที่จะจ่ายมากขึ้น
26-60% เพื่อสินค้าที่รับผิดชอบสิ่งแวดล้อมและสังคม และยังเข้าถึงสินค้าเหล่านี้ได้ง่ายขึ้นด้วย จนเกิดแรงผลักในระดับนโยบาย
เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (ปี 2560-2564) ที่เน้นการปรับปรุงระบบห่วงโซ่อุปทานให้เป็นมิตรกับสิงแวดล้อม
หรือมีมาตรการทางภาษีอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการให้ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและสังคมมากขึ้น
การวางแผนและการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ
การจัดการที่มีประสิทธิภาพทั้งภายในและระหว่างห่วงโซ่อุปทานจะทำให้การไหลของสินค้าจากผู้ผลิตไปยังผู้รับราบรื่น
รวดเร็ว ลดต้นทุนในการดำเนินงาน ลดความเสียหายที่เกิดจากการเน่าเสีย และสร้างความเชื่อมั่นแก่ลูกค้า
อีกทั้ง ผู้ประกอบการรายใหม่ในปัจจุบันต้องพึ่งพานักลงทุนอย่างมากในการเริ่มต้นธุรกิจ
นักลงทุนสมัยใหม่สนใจในการปรับตัวของภาคธุรกิจอาหารและครื่องดื่มในการตอบรับความท้าทายที่เกิดขึ้นกับ
Supply
Chain โดยเฉพาะกับภาคเกษตรกรรมที่เป็นต้นน้ำของอุตสาหกรรมอาหาร และถูกนำมานับเป็นความเสี่ยงหนึ่งในการพิจารณาการลงทุนด้วย
แล้วธุรกิจเกิดใหม่ จะทำอย่างไรในการจัดการห่วงโซ่อุปทานให้มีความยั่งยืน
?
บริษัทเก่าแก่และใหญ่โตอย่าง McDonald มีการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนร่วมกับผู้ส่งมอบ
โดยประกาศวิสัยทัศน์ด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทานไว้ชัดเจนว่า
“องค์กรจะจัดหาอาหารและบรรจุภัณฑ์จากแหล่งการผลิตอย่างยั่งยืน” เช่น การให้ความสำคัญกับพนักงาน
สัตว์ วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่การคัดสรรแหล่งวัตถุดิบ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การส่งมอบลูกค้าในราคาที่เหมาะสม
การค้าที่เป็นธรรมกับเกษตรกรและะไม่สร้างให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อชุมชนที่เกิดจากการดําเนินกิจกรรมของผู้ส่งมอบ
ส่วน Unilever ก็ช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยหลายแสนรายพัฒนาวิธีการทำการเกษตรให้ได้ผลผลิตดีขึนและไม่กระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้เกิดความยั่งยืนและสนับสนุนแผนการเติบโตในระยะยาวของบริษัทได้อีกด้วย ใจขณะที่ Tesco Lotus ก็มีการจัดอาหารเหลือทิ้ง (Food waste) โดยการวางแผนการทำงานร่วมตั้งแต่เกษตรกรจนถึงขั้นตอนหลังจากวางขายแล้ว
จะเห็นได้ว่า การจัดการห่วงโซ่อุปทานให้ยั่งยืน
เป็นการวางแผนการดำเนินการทั้งระบบและต้องสร้างความร่วมมือจากหลายฝ่ายตั้งแต่ จัดหาวัตถุดิบ(Source) การผลิต(Production) การจัดเก็บ (Inventory) การส่งมอบ(Packaging/Delivery/Distribution)
การรับของคืน(Return) ดังนั้น ธุรกิจใหม่จึงควรจะวางแผนไว้ตั้งแต่ต้นเพื่อการทำงานเชื่อมร้อยกันของคนทั้งห่วงโซ่
สามารถเริ่มได้โดยการวิเคราะห์ทุกกิจกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทานเพื่อคาดการณ์จุดที่ต้องพัฒนาปรับปรุง
ซึ่งอาจมีการยึดหลัก 3R (Reduce Reuse Recycle) หรือกฎระเบียบและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม เช่น มาตรฐาน ISO 14001 หรือออกแบบ Closed-Loop Supply Chain (CLSC) ในการวางแผนด้วย
โดยส่วนสำคัญที่จะทำให้เกิดความร่วมมือขึ้นได้จริงคือการสร้างความโปร่งใสและการแบ่งปันข้อมูลที่สามารถสืบย้อนได้
และการกระตุ้นช่วยเหลือระหว่างกัน ที่สำคัญ ต้องสามารถวัดผลได้ ซึ่งอาจจะใช้หลักความสูญเสีย 7 ประการ ของบริษัท โตโยต้ามอเตอร์ มาใช้ออกแบบการวัดผล
ได้แก่ ความสูญสัยที่เกิดจาก 1.การผลิตมากเกินไป
2.การผลิตของเสีย 3.ความล่าช้า 4.มีวัสดุคงคลังที่ไม่จำเป็น 5.การขนส่งหรือขนย้าย 6.กระบวนการผลิต 7.การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการอาจพบว่าการเพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลของการดำเนินธุรกิจไม่สอดคล้องกับการจัดการเพื่อความยั่งยืน
เช่น การที่ต้องลงทุนสูง ทำให้ต้องปรับราคาสินค้าสูงขึ้นตามและเสียเปรียบคู่แข่ง
ผู้ประกอบการจึงควรหาวิธีสื่อสารคุณค่านั้นให้ถึงลูกค้าและเกิดความตระหนักถึงคุณค่าที่แท้จริงที่ถูกส่งมอบไปกับสินค้าด้วย
เพราะสุดท้าย ปลายน้ำของผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมนั้นก็คือผู้บริโภคเอง
ถึงตรงนี้แล้ว
หากท่านผู้อ่านคิดว่ายาก อย่าลืมเสียว่า
การเปลี่ยนแปลงและปัญหา นำไปสู่โอกาสที่ดีกว่าได้เสมอ ดังตัวอย่างธุรกิจเกิดใหม่ต่อไปนี้
ที่เปลี่ยนปัญหาความไม่ยั่งยืนใน Supply Chain เป็นโอกาสได้อย่างสวยงาม
Siam Organic Co., Ltd. เป็นบริษัทการเกษตรของไทยที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นได้ไม่ถึง 10 ปี เมื่อผู้ก่อตั้งพบว่า ใน Supply Chain ข้าว อาหารหลักของผู้คนทั่วโลก
ที่ปลายสุดข้างหนึ่งคือชาวนารายย่อยยังได้รับความลำบากจากความยากจนเพราะข้าวขายไม่ได้ราคา
ต้นทุนสูง และระบบเกษตรที่ไม่มีประสิทธิภาพ ส่วนปลายน้ำคือผู้บริโภคเองก็ได้รับข้าวที่ไม่มีคุณภาพจากการใช้สารเคมี
บริษัท Siam Organic ภายใต้ Brand Jassberry จึงเป็นตัวกลางระหว่างผู้บริโภคปลายน้ำและผู้ผลิตต้นน้ำเพื่อจัดการให้ความยั่งยืนอย่างแท้จริง โดยการเริ่มลงทำงานกับเกษตรกรตั้งแต่ 1.การช่วยหาเมล็ดภัณฑ์ Non-GMO คุณภาพสูง เพื่อผลผลิตสูง
รสชาติดี สารอาหารสูง 2.ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญในการเตรียมปลูก เพื่อให้ได้ข่วงเวลาเพาะปลูกที่เหมาะสมซึ่งช่วยให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้นตามมา
รวมทั้งเชื่อมโยง Microfinance กับองค์กรระดับโลกอย่าง Kiva เพื่อกู้เงินซื้อปุ๋ยได้ในช่วงเวลาเพาะปลูก
3.ข้าวของ Jassberry ปลูกเพียงปีละครั้งโดยใช้เวลา 6 เดือนในการปลูก โดย Siam Organic จะช่วย Training
ชาวนาในการดูแลการปลูกเพื่อให้ได้มาตรฐานสากลซึ่งไม่ใช้สารเคมีอันตรายหรือยาฆ่าแมลง
4.การเกี่ยวข้าวด้วยมือทั้งหมดเพื่อให้ได้ข้าวคุณภาพดีที่สุดและช่วยลดมลภาวะที่เกิดจากการใช้เครื่องจักร โดย
25% ของข้าวชาวนาจะเก็บไว้รับประทานเองและ Siam Organic การันตีจะรับซื้อส่วนที่เหลือ 5.ชาวนาจะเคลื่อนย้ายผลผลิตไปเก็บที่โรงสีสหกรณ์และอยู่ที่นั่นจนพร้อมที่จะแพ็คและขนส่งไปให้ผู้บริโภคที่ส่วนใหญ่เป็นตลาดต่างประเทศ
โดยได้ราคาดีกว่าทั่วไปถึง 200%
ปัจจุบันแบรนด์ Jassberry
เป็นผลผลิตจากชาวนากว่า
1,816 ครัวเรือน และสร้างคุณค่าให้สังคมได้กว่า 3,351,808 ล้านบาท
ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรนั่นเอง นับว่า Siam Organic ได้เพิ่ม Value ใน Supply Chain เดิมของข้าวได้อย่างเป็นรูปธรรม สามารถวัดผลได้ ในขณะที่สร้าง Competitive Advantage
ให้บริษัทเองจากการสร้างคุณค่าที่ลอกเลียนแบบได้ยากนี้
บริษัท FoodCloud เป็น Food Startup ชื่อดังจากประเทศไอร์แลนด์ที่เกิดจากการเห็นปัญหาใน
Supply Chain เช่นกัน เมื่อผู้ก่อตั้งพบว่า โลกมีอาหารเหลือทิ้งกว่า 1,300 ล้านตัน โดยใช้น้ำมัน 300 ล้านบาเรล น้ำ และแผ่นดินจำนวนมหาศาล ไปกับผลิตอาหารที่เหลือทิ้งนั้น
ในขณะที่ยังมีคนจำนวนมาก ที่เข้าไม่ถึงอาหารอย่างเพียงพอ FoodCloud จึงเกิดขึ้น โดยความร่วมมือของผู้เล่นสำคัญๆในห่วงโซ่นี้
FoodCloud สร้าง Platform Application เชือมโยงข้อมูลระหว่าง Super Market กับองค์กรการกุศลท้องถิ่น เพื่อรายงานว่า Super Market นั้นๆ มีอาหารสภาพดีที่ไม่สามารถวางขายบนชั้นได้อีกต่อไป
เพื่อให้องค์กรการกุศลท้องถิ่นนั้นไปรับอาหารและแจกจ่ายให้กับผู้ขาดแคลน ซึ่ง Super Market เองก็ได้เปลี่ยนขั้นตอนการจัดการของเสียไปเป็นการสร้างคุณค่าดีๆให้ชุมชน เกิดเป็น Supply Chain ใหม่ที่สร้างคุณค่าทางสังคมและเศรษฐกิจได้มากขึ้น
โดยปัจจุบัน FoodCloud มี Partners รายใหญ่อย่าง
Tesco, AlDI, LIDL, Waitrose ทั้งในไอร์แลนด์และสหราชอาณาจักร และยังเป็น
Redistributed Food Business Model ยุคใหม่ที่สามารถขยายตัวได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย
จากทั้งหมดที่เกิดขึ้นในธุรกิจอาหารที่ได้กล่าวมานั้น ท่านเห็นด้วยหรือไม่
ที่จะผลักดันให้การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เป็นการปฏิวัติที่นำไปสู่การบริโภคอย่างยั่งยืนผ่านแนวคิด
Sustainable Supply Chain Management ?
อ้างอิง
1.
ELLIOT MARAS, 2017, Sustainable Food: The Supply Chain Holds the Key to Success
เข้าถึงได้จาก https://www.foodlogistics.com/sustainability/article/12215449/sustainable-food-the-supply-chain-holds-the-key-to-success
2.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์, 2558, ความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน,
คอลัมน์ CSR talk โดย ฝ่ายความยั่งยืน สถาบันไทยพัฒน์
3.
Sarita Nayyar, 2016, Sustainable consumption and the Fourth
Industrial Revolution
เข้าถึงได้จาก https://www.weforum.org/agenda/2016/06/sustainable-consumption-and-the-fourth-industrial-revolution/
4.
สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า, 2017, #thsdg17: Business
in Action (2) Sustainable Supply Chain กรณีเทสโก้ฯ-ซีพีเอฟ-ดีแทค
5.
Dave Blanchard, 2017, Top 25 Supply Chains of 2017
6.
SHANNON LEWIS, 2018, Top 10 biggest supply chains
7.
ป่าสาละ, 2015, B
Talk ครั้งที่ 3 “Why sustainable food supply chains matter?”
เข้าถึงได้จาก http://www.salforest.com/events/btalk-no-03
8.
The Economist, 2012, The third industrial revolution
เข้าถึงได้จาก https://www.economist.com/node/21553017
9.
Raz Godelnik, 2012, 2012: Four Trends in Sustainable
Consumption
10.
วารสารสื่อพลัง และ
วิชาการ.คอม, 2011, ห่วงโซ่สีเขียวสู่ความยั่งยืน
Green Logistics, a Green Supply Chain to Sustainability
เข้าถึงได้จาก http://www.vcharkarn.com/varticle/43151
11.
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, 2017, สร้างห่วงโซ่อุปทานแห่งความยั่งยืน
เข้าถึงได้จาก http://www.ftpi.or.th/2017/12890
12.
Mary Ann DiMascio, 2017, Investors cultivate more sustainable
food supply chain
เข้าถึงได้จาก https://www.greenbiz.com/article/investors-cultivate-more-sustainable-food-supply-chain
13.
www.food.cloud
14.
Killian Woods, 2017, When
we launched FoodCloud it didn't work at all. We had to go back to the drawing
board, thejournal.ie
15.
www.jasberry.net